หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

ภาษาไทย: หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Economics Program

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : เศรษฐศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ : ศ.บ.
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Economics Program
ชื่อย่อ : B.Econ.

ปรัชญา

เศรษฐศาสตร์เพื่อสังคมแห่งอนาคต (Economics for future society)” โดยหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างความเชี่ยวชาญโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการตั้งคำถาม วิเคราะห์ วางแผนและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคโลกปั่นป่วน (Disruptive world) ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบทางเศรษฐกิจแห่งวิถีโลกอนาคต สามารถประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก เข้าใจพลวัตเศรษฐกิจชายแดนอย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย มีทักษะในการบริหาร จัดการข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันและสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ในสังคมดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมและใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความซื่อสัตย์ คำนึงถึงส่วนรวม ยึดมั่นในความถูกต้องและกล้าแสดงออกเชิงจริยธรรม

วัตถุประสงค์

เพื่อมุ่งผลิตนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนวัตกรที่มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างความเชี่ยวชาญโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการตั้งคำถาม วิเคราะห์ วางแผนและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคโลกปั่นป่วน (Disruptive world) ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบทางเศรษฐกิจแห่งวิถีโลกอนาคต สามารถประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก เข้าใจพลวัตเศรษฐกิจชายแดนอย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย มีทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์และประมวลผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันและสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในสังคมดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมและใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความซื่อสัตย์ คำนึงถึงส่วนรวม ยึดมั่นในความถูกต้องและกล้าแสดงออกเชิงจริยธรรม

  1. มีความสามารถในการทำงานโดยประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่กับสถานการณ์จริง และร่วมสร้างสรรค์รูปแบบทางเศรษฐกิจแห่งวิถีโลกอนาคต
  2. มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก พลวัฒการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชายแดน อย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย 
  3. มีทักษะในการบริหาร จัดการข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างรู้เท่าทันและสื่อสารในรูปแบบต่างๆในสังคมดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
  4. มีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมและใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 
  5. มีความซื่อสัตย์ คำนึงถึงส่วนรวม ยึดมั่นในความถูกต้องและกล้าแสดงออกเชิงจริยธรรม 

ด้วยตลาดแรงงานในอนาคต บัณฑิตหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตสามารถนำความรู้และทักษะ
การคิดวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ และความสามารถทางภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและการสื่อสาร มาเพื่อทำงานในตำแหน่งงาน

  1.  เศรษฐกร (Economist) 
  2. นักวิเคราะห์ด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ (International Trade and Investment Analyst) 
  3. นักวิเคราะห์ในตลาดเงินและตลาดทุน (Analyst in Financial and Capital Market) 
  4. นักวิเคราะห์เศรษฐกิจชายแดนและภูมิภาค (Border Economic Analyst)
  5. นักบริหารความเสี่ยง (Risk Manager) 
  6. นักวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน (Strategic Planner)
  7. นักวิเคราะห์และวางแผนการเงิน (Financial Analyst and Planner)
  8. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) 
  9. นักพัฒนาเศรษฐกิจในองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม (Development Economist in Social Enterprises)
  10. ประกอบธุรกิจส่วนตัวธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าหรือการลงทุน (Startup, Self-employed, Entrepreneur)

ซึ่งสามารถทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ธนาคารต่างประเทศ สถาบันการเงินในประเทศ (ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น

  1. มีความสามารถในการทำงานโดยประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่กับสถานการณ์จริง และร่วมสร้างสรรค์รูปแบบทางเศรษฐกิจแห่งวิถีโลกอนาคต
  2. มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก พลวัฒการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชายแดน อย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย 
  3. มีทักษะในการบริหาร จัดการข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยอย่างรู้เท่าทันและสื่อสารในรูปแบบต่างๆในสังคมดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
  4. มีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมและใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 
  5. มีความซื่อสัตย์ คำนึงถึงส่วนรวม ยึดมั่นในความถูกต้องและกล้าแสดงออกเชิงจริยธรรม 

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 30,000.- บาท

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
  1) กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ 18 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ 45 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาชีพเลือก 24 หน่วยกิต
     
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต