ภาษาไทย: | หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Economics Program |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | เศรษฐศาสตรบัณฑิต |
ชื่อย่อ : | ศ.บ. | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Economics Program |
ชื่อย่อ : | B.Econ. |
ปรัชญา
เศรษฐศาสตร์เพื่อสังคมแห่งอนาคต (Economics for future society)” โดยหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างความเชี่ยวชาญโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการตั้งคำถาม วิเคราะห์ วางแผนและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคโลกปั่นป่วน (Disruptive world) ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบทางเศรษฐกิจแห่งวิถีโลกอนาคต สามารถประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก เข้าใจพลวัตเศรษฐกิจชายแดนอย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย มีทักษะในการบริหาร จัดการข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันและสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ในสังคมดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมและใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความซื่อสัตย์ คำนึงถึงส่วนรวม ยึดมั่นในความถูกต้องและกล้าแสดงออกเชิงจริยธรรม
วัตถุประสงค์
เพื่อมุ่งผลิตนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนวัตกรที่มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างความเชี่ยวชาญโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการตั้งคำถาม วิเคราะห์ วางแผนและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคโลกปั่นป่วน (Disruptive world) ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบทางเศรษฐกิจแห่งวิถีโลกอนาคต สามารถประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก เข้าใจพลวัตเศรษฐกิจชายแดนอย่างเป็นระบบโดยใช้องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย มีทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์และประมวลผลทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทันและสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในสังคมดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีทักษะการทำงานในสังคมพหุวัฒนธรรมและใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความซื่อสัตย์ คำนึงถึงส่วนรวม ยึดมั่นในความถูกต้องและกล้าแสดงออกเชิงจริยธรรม
ด้วยตลาดแรงงานในอนาคต บัณฑิตหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตสามารถนำความรู้และทักษะ
การคิดวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ และความสามารถทางภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและการสื่อสาร มาเพื่อทำงานในตำแหน่งงาน
ซึ่งสามารถทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ธนาคารต่างประเทศ สถาบันการเงินในประเทศ (ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 87 หน่วยกิต | ||
1) กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ | 18 หน่วยกิต | ||
2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 45 หน่วยกิต | ||
3) กลุ่มวิชาชีพเลือก | 24 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต | ||