สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ: Master of Business Administration Program in International Logistics and Supply Chain Management

 

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อ : บธ.ม. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Business Administration (International Logistics and Supply Chain Management)
ชื่อย่อ : M.B.A. (International Logistics and Supply Chain Management)

 

ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเครื่องมือทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศในการวิเคราะห์ธุรกิจ วางแผนและแก้ปัญหาทางการจัดการโลจิสติสก์และโซ่อุปทาน รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในประเด็นการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ ในภูมิภาคและพื้นที่ชายแดนเป็นพิเศษ  และสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับกระแสโลกาภิวัฒน์ต่อไป


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ความรู้ความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการและแนวทางในการจัดการ การวิเคราะห์ธุรกิจและแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  2. สามารถนำความรู้และทักษะที่มีไปประยุกต์กับแผนงาน การทำงาน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีทักษะในการทำงานวิจัยอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  4. มีทักษะและสามารถในการทำงานเป็นทีม พร้อมทั้งสามารถแสดงศักยภาพในการเป็นผู้นำได้
  5. มีคุณธรรม และจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

 

จุดเด่นของหลักสูตร

  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 มีจุดเด่น ดังต่อไปนี้
    หลักสูตรฯ ได้ออกแบบรายวิชา เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีทักษะความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1) เน้นพัฒนาให้รายวิชามีความครอบคลุมเนื้อหาด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในทุกมิติมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการจัดการโลจิสติกส์ทางการเงิน ทางด้านธุรกิจสุขภาพ
    2) ส่งเสริมทักษะให้นักศึกษาใช้กระบวนการวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ในการประยุกต์ใช้เข้ากับสถานการณ์จริง
    3) พัฒนาและเสริมสร้างให้นักศึกษามีความเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ
  2. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 แตกต่างจากหลักสูตรของสถาบันอื่น ดังต่อไปนี้
    1) มีทักษะในการใช้กระบวนการวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ ด้วยการใช้เครื่องมือวิจัยทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและหรือลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ
    2) มีศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ภายใต้สภาวะความไม่ต่อเนื่องของธุรกิจ (Discontinuity) 

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรมและการบริการ
  2. ผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ธุรกิจ และการจัดการด้าน โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  3. ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  4. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  5. อาจารย์หรือนักวิชากการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

  • PLO1  ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมวิจัยพื้นฐานและหลักจริยธรรมธุรกิจ
  • PLO2  เลือกใช้วิธีการในการดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศและระหว่างประเทศและประเมินข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้
  • PLO3  ทำงานวิจัยได้อย่างเป็นระบบ มีทักษะการทำงานวิจัย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้
  • PLO4 แสดงให้เห็นถึงทักษะในการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และความสามารถในการเป็นผู้นำ เพื่อพัฒนาการเป็นผู้นำในธุรกิจ
  • PLO5  นำทฤษฎีไปประยุกต์ในการปฏิบัติ เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (เชิงพลวัต) ของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้

 

ค่าธรรมเนียม

 แผน ก1 แผน ก2 และแผน ข (จำนวน  3 ภาคการศึกษาในหลักสูตร)
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   219,000   บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  73,000  บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
    1) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 39 หน่วยกิต
       
แผน ก2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
    1) หมวดวิชาพื้นฐาน 12 หน่วยกิต
    2) หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
    3) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
    4) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       
แผน ข  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
    1) หมวดวิชาพื้นฐาน 12 หน่วยกิต
    2) หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
    3) หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
    4) หมวดวิชาการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

 

ข้อมูลอ้างอิง

อ้างอิงจาก หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานระหว่างประเทศ พ.ศ. 2565

ปรับปรุงข้อมูล 22 ส.ค. 66