สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Business Administration (Logistics and Supply Chain Management)
ชื่อย่อ : B.B.A (Logistics and Supply Chain Management)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรที่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร การค้า การลงทุน การบริการ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งนี้ ได้มีการปรับหลักสูตรโดยเน้นเรื่องการรับมือการเปลี่ยนแปลงและการหยุดชะงักของโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) ที่เกิดขึ้นในสภาวะวิกฤต (Crisis) ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ทางทฤษฎี และปฎิบัติ ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงเพิ่มเนื้อหาด้านการจัดการโซ่อุปทานสุขภาพ (Health Supply Chain) ซึ่งเป็นสายงานที่ต้องการในตลาดแรงงานในอนาคต 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตที่สามารถ

  1. แสดงออกถึงจริยธรรมทางธุรกิจและธรรมาภิบาลโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตามระเบียบสากลว่าด้วยจรรญาบรรณขององค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO)
  2. มีความรู้และทฤษฎีพื้นฐานในงานหลักทางธุรกิจและในบริบทนานาชาติ
  3. แสดงออกถึงทักษะการสื่อสารทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. แสดงออกถึงความสามารถในการปรับตัวและความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม และความตระหนักถึงความหลากหลายของผู้คน
  5. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างแผนธุรกิจ การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหา
     

  1. มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์การเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมและกระบวนการทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  2. มีเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินกิจกรรมภายใต้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานภายนอกที่ชื่อเสียง เช่น Kerry Logistics , Kerry Express , SCG Logistics , SCG , APL Logistics และกรมศุลกากร
  3. มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ประจำหลักสูตรชาวต่างชาติ ซึ่งมีความเป็นเลิศ (Expertist) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสายงานโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นความถนัดเฉพาะด้านที่จำเป็นในตลาดงานในอนาคต

ผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการค้าระหว่างประเทศ พนักงานในองค์กรรัฐหรือบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับด้านการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งและการคมนาคม นักวิเคราะห์ข้อมูล โดยแผนกงานที่สามารถทำได้ครอบคลุมทั้งด้านการจัดการคลังสินค้า การนำเข้า-ส่งออก ระบบการขนส่งทางรถบรรทุก รถไฟ เรือ เครื่องบิน เอกสารใบอนุญาตต่าง ๆ ตลอดจนในด้านระเบียบพิธีการด้านศุลกากร นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมทางด้านธุรกิจ อาจารย์หรือนักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน